Learning Activities การสืบสาะที่ขับเคลื่อนการโต้แย้งในชั้นเรียนฟิสิกส์

          วันนี้ในชั้นเรียนฟิสิกส์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  ผมได้ลองนำ ADI instructional model เป็นแนวทางสำหรับจัดกิจกรรมตามเนื้อหาคือเรื่อง แรงลอยตัว(Buoyant force) ก่อนอื่นผมขอพูดถึงขั้นตอน ADI ก่อน ชื่อเต็มๆก็คือ Argument-Driven Inquiry เป็นmodel การจัดกิจกรรมแบบสืบเสาะผ่านกระบวนการโต้แย้ง เสนอและพัฒนาขึ้นโดย Prof.Victor Sampson และคณะ ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ดังนี้

          การกำหนดปัญหา/หัวข้อที่จะทำการศึกษา (Identification of a task) ครูจะเป็นผู้นำเสนอปัญหาหรือหัวข้อการปฏิบัติการทดลอง (Laboratory-based experience) นักเรียนแต่ละกลุ่มจะดำเนินการทดลอง เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ และลองข้อสรุปการสร้างข้ออ้างชั่วคราว (Production of a tentative argument)การเปิดเวทีการโต้แย้ง (Argumentation session) ในแต่ละกลุ่มจะมาเเลกเปลี่ยนและวิพากษ์ผลการศึกษาของกลุ่มอื่นๆเขียนรายงานการศึกษา (investigation report) นักเรียนแต่ละคนจะได้ทำรายงานซึ่งเขียนอธิบายการสืบเสาะค้นคว้าของตนเองการทบทวนด้วยการอำพรางสองฝ่าย (Double-blind peer review)การปรับปรุงแก้ไขรายงาน(Revision of the report) ตามผลการศึกษาและการทวบทวนโดยผู้อื่น การชี้และอภิปรายสะท้อนผล (Explicit and reflective discussion) เกี่ยวกับวิธีการสืบเสาะ

          สำหรับในชั้นเรียนครั้งนี้ ซึ่งตามกำหนดการสอน(Course outline) จะเป็นหัวข้อ “แรงลอยตัว”  ผมได้กำหนดแนวปัญหาเป็นถามว่า “วัตถุลอยตัวอยู่ภายในของเหลวได้อย่างไร” กำหนดปัญหา “วัตถุลอยตัวอยู่ภายในของเหลวได้อย่างไร”?  ในขั้นนี้ผมลองสุ่มนักเรียนออกมาเขียนความคิดและลงความเห็นก่อนการศึกษาว่ามีคำตอบอย่างไรบ้าง

          หลังจากได้ลองตอบคำถามแล้ว จะให้แต่ละคนอธิบายว่ามีเหตุผลอะไรที่ทำให้คิดแบบนั้น พบว่านักเรียนพยายามดึงประสบการณ์ของตัวเองมา แต่ประสบปัญหาที่ไม่สามารถเชื่อมโยงให้เป็นคำอธิบายที่พอใจได้ การอธิบายให้เหตุผลคำตอบจึงเป็นอย่างยากลำบาก เมื่อตัวแทนได้เสนอคำอธิบายแล้ว จึงให้ผู้ฟังคนอื่นลองคิดและตัดสินใจว่าจะเห็นด้วยกับข้อเสนอของเพื่อนคนใด เป้าหมายเพื่อให้นักเรียนลองลงความเห็นหรือสร้างข้ออ้าง(Claim) ขึ้นมา

          ผมได้เตรียมเตรียมการทดลองง่ายๆ อันที่จริงอาจจะไม่เรียกว่าการทดลองก็ได้(ฮ่าๆๆๆ) เพียงต้องการให้นักเรียนได้เห็นและนำหลักฐานนั้นมาใช้ในขั้นต่อไปได้ ใช้บิ๊กเกอร์ขนาด 200ml บรรจุน้ำสะอาดตามที่แต่ละกลุ่มต้องการ พร้อมกับหย่อนวัสดุที่หาได้ทันที(เช่น ปลอกปากกา,เศษไม้ขนาดเล็ก เป็นต้น) ลงไปในบิ๊กเกอร์ แล้วสังเกตตำแหน่ง ซึ่งทุกกลุ่มจะสังเกตเห็นวัสดุลอยอยู่ในของเหลวหรือน้ำ เนื่องจากคาบนี้เป็นครั้งแรกที่นักเรียนได้ทำกิจกรรมตามแนวคิดทีต้องการส่งเสริมให้นักเรียนสามารถ สร้างข้ออ้าง (Claim)แสวงหาหลักฐานหรือข้อมูล(Evidence หรือ Data)และเชื่อมโยงข้ออ้างและหลักฐาน ข้อมูลอย่างเป็นเหตุเป็นผลได้ (Reasoning)  ดังตัวอย่างด้านล่างนี้ กิจกรรมสองชั่วโมงที่ผ่านไป นักเรียนดำเนินไปถึงเพียงขั้นตอนที่ 3 การสร้างข้ออ้างชั่วคราว (Production of  tentative argumentation)  อย่างไรก็ตามข้ออ้าง(Claim) ที่ได้ในขั้นตอนนี้นักเรียนสร้างจากภายหลังการศึกษาแล้ว หลักฐานที่นำมาอ้างได้มาจากการทดลอง ส่วนข้อมูลที่มาซับพอร์ทอ้างแนวคิดเรื่องแรงลอยตัวที่นักเรียนได้ค้นคว้าในหนังสือแบบเรียน จนมาถึงขั้นตอนที่จะต้องให้เหตุผลพบว่าบางกลุ่มพยามเชื่อมโยงได้ค่อนข้างดี(ฟังดูเกี่ยวข้องกัน) แต่บางกลุ่มยังแยกเป็นคนละชิ้นกันระหว่างข้ออ้างและหลักฐาน ข้อมูล

shares